Developed by JoomVision.com
ข่าว - กิจกรรม: กิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ - วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2023 เวลา 09:55 น.
ข่าว - กิจกรรม: โครงการทัศนศึกษา ปีการศึกษา 2566 - วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2023 เวลา 09:52 น.
ข่าว - รางวัลต่างๆ: รางวัลชนะเลิศกีฬาวอลเลย์บอล กรุงเก่าเกมส์ ครั้งที่ 9 - วันจันทร์ที่ 03 กรกฏาคม 2023 เวลา 11:06 น.
ข่าว - รางวัลต่างๆ: รางวัลนักเรียนระดับประเทศ ปีการศึกษา 2565 - วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2023 เวลา 17:31 น.

It only takes 2 minutes - Sign Up

บทบาทหน้าที่ของบุคลากร ผู้เรียน ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงานชุมชนและท้องถิ่นของสถานศึกษา บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน (Student code of conduet)

PDFพิมพ์อีเมล

บทบาทหน้าที่ของบุคลากร ผู้เรียน ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงานชุมชนและท้องถิ่นของสถานศึกษา

บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน
(Student code of conduet)

1. บทบาทและหน้าที่ตนเอง
1.1 ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ 
1.2 ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสและเบิกบาน 
1.3 หลีกเลี่ยงอบายมุข และสิ่งเสพติดทุกชนิด 
1.4 พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีสัมมาคารวะ 
1.5 ขยัน อดทน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน 
1.6 เล่นกีฬาที่ตนเองถนัด อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง 
2. บทบาทและหน้าที่ต่อพ่อแม่และครอบครัว
2.1 เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำอบรมของพ่อแม่ 
2.2 ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านตามสมควร 
2.3 เป็นลูกกตัญญู กตเวทีต่อพ่อแม่และบุพการี 
3. บทบาทหน้าที่ต่อครู อาจารย์ และโรงเรียน
3.1 ให้ความเคารพและเชื่อฟังครู/ อาจารย์ทุกท่าน 
3.2 ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน 
3.3 รักและภาคภูมิใจ ในสถาบันการศึกษาของตน 
3.4 ให้ความร่วมมือ กับครู/อาจารย์ และโรงเรียน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ โรงเรียน 
3.5 มีความรัก สามัคคีต่อเพื่อนนักเรียนด้วยกัน 
4. บทบาทและหน้าที่ต่อท้องถิ่นของตนเอง
4.1 มีความรัก และภาคภูมิใจต่อท้องถิ่นของตนเอง 
4.2 สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหาย 
4.3 ช่วยเหลือ และพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า 
4.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ 
4.5 รักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ อากาศ สวนสาธารณะต่าง ๆ 
4.6 ใช้สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม และประหยัด 
4.7 ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม 
5. บทบาทและหน้าที่ต่อประเทศชาติ
5.1 ภูมิใจในความเป็นไทย พร้อมสืบสาน ศิลป วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของไทย 
5.2 รักและห่วงแหนความเป็นเอกราชของชาติไทย 
5.3 ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองในระบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข
5.4 เป็นเยาวชนที่ดีของชาติ 

6. บทบาทและหน้าที่ต่อศาสนา
6.1 เลื่อมใส ศรัทธา ในศาสนาที่ตนเองนับถือ 
6.2 ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา 
6.3 ช่วยเผยแพร่ศาสนา 
6.4 เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา 
6.5 ไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่ศาสนา 
7. บทบาทหน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์
7.1 ให้ความเคารพ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 
7.2 นำเอาพระราชดำรัส ของพระองค์มาปฏิบัติ

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง

ผู้ปกครอง คือ ครูคนแรกๆ ของเด็กและเด็กๆก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่บ้านโดยไม่ต้องได้รับอิทธิพลหรือได้รับการสอนอย่างเป็นทางการจากสถานศึกษาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ เมื่อเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาหรือโรงเรียนอนุบาลแล้ว การเรียนรู้จะต้องเชื่อมต่อและเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นต่อเนื่องและทำให้การเรียนรู้มีความหมายต่อเด็ก เพราะสามารถเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงที่บ้านได้ด้วย บทบาทของผู้ปกครอง ได้แก่ 
1. เข้าใจพัฒนาการและความแตกต่างรายบุคคลของลูก

เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะรู้และเข้าใจ สามารถส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมเพราะการเจริญเติบโตในช่วงใดช่วงหนึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการชะงักงัน อีกทั้งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีสไตล์ (style) ที่อาจแตกต่างกัน ผู้ปกครองต้องเข้าใจ บางครั้งอาจต้องมีความอดทนกับสไตล์ของลูก ต้องไม่นำลูกของตนไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน แต่ต้องเข้าใจ รู้ใจลูกและส่งเสริมพัฒนาการของลูกในวิถีทางที่ลูกชอบ 
2. ให้ความรัก/ความอบอุ่น :เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่

เด็กทุกคนต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากเด็กมีกลไกด้านประสาทวิทยาและชีววิทยา มีโปรแกรมในสมองสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ และสื่อสารความรู้สึกความต้องการภายในได้ของตนได้ ความอบอุ่นที่เด็กได้รับจากครอบครัวจะเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ลูกกล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ อีกทั้งความอบอุ่นนี้เป็นการสร้างสายใยของความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกให้เกิดความไว้วางใจ กล้าเล่าสิ่งต่างๆที่กังวล ที่เป็นปัญหา ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้ความจริง สามารถให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า 

3. การอบรมสั่งสอน: การอบรมเลี้ยงดูกับบุคลิกภาพของลูก

พฤติกรรมการเลียนแบบทางกาย วาจานั้นปรากฏชัดเจนมาก ทั้งการแต่งกาย ท่าทาง กิริยามารยาทของพ่อแม่ย่อมถ่ายทอดไปสู่ลูก การใช้ภาษาพูดและภาษาท่าทางนั้น เด็กสามารถเลียนแบบพ่อแม่ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน หล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพของลูก ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมการสั่งสอนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่บ้าน การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็กและครอบครัวทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและบ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัยให้กับเด็กอีกด้วย เรียกได้ว่า วินัยเริ่มที่บ้านและเป็นวินัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นช่วยเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น เก็บของเล่นเป็นที่ รับประทานอาหารเป็นที่เป็นต้น

4. การอบรมเลี้ยงดูกับจริยธรรมของเด็ก

การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็ก การใช้เหตุผลที่ไม่สูงเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนักจะมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก การเลี้ยงดูโดยการใช้เหตุผลจะทำให้เด็กเป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์เลี้ยงและผู้อื่น

5. การเสริมแรง จูงใจ และให้รางวัล สร้างความมั่นใจให้ลูก

เราพูดกันอยู่เสมอว่า คำชมนั้นไม่ต้องซื้อหา หากแต่คำชมต้องเป็นรูปธรรม บอกกล่าวว่าลูกทำอะไรดีจึงได้รับคำชม การชมนี้เป็นการแนะแนวทางให้แก่ลูกว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและต้องทำอีกถ้าหากว่าลูกต้องการคำชม และเมื่อทำบ่อยๆพฤติกรรมนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคลิกของเด็ก สำหรับรางวัลนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป ในระยะแรกอาจใช้สิ่งของเพื่อช่วยให้เด็กเห็นชัดเจน แต่ต้อมาผู้ปกครองต้องค่อยๆลดสิ่งของลง คงเหลือไว้เพียงคำพูด ยิ้ม พยักหน้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกยึดติดกับสิ่งของหรือกลายเป็นว่าจะทำดีต่อเมื่อมีสิ่งของ หากแต่การทำดีนั้นเพราะเป็นสิ่งที่ดี

6. การใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ

เวลาที่มีคุณภาพนั้น อาจจะหลอมรวมอยู่ในกิจวัตรประจำวัน ไม่จำเป็นต้องจัดขึ้นใหม่ หากแต่ผู้ปกครองให้ลูกมีส่วนร่วม อย่ารำคาญหรือคิดว่าเมื่อลูกร่วมกิจกรรมด้วยแล้วทำให้เกิดความล่าช้า เสียเวลา ขอให้ใช้การเสียเวลานั้นอย่างมีคุณค่า เพราะการทำ"งาน"ร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับลูก การสนทนา การพูดคุยกับลูกนั้น ยังช่วยให้รับรู้ถึงความคิดความอ่านของลูก สิ่งที่ลูกกลัวที่เป็นปัญหาของลูก หลายๆครั้งเรามีความรู้สึกว่าลูกพูดอะไรก็ไม่รู้ เพ้อเจ้อ แต่นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่ลูกจินตนาการขึ้น ซึ่งก็เป็นพัฒนาการตามวัย ความสัมพันธ์หรือสายใยนี้ จะยังคงอยู่ต่อไปและกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะเมื่อลูกเห็นว่าพ่อแม่คือคนที่พูดคุยด้วยได้ เมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ได้ เมื่อเด็กโตขึ้น ปัญหาก็ยิ่งสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ในยามที่ลูกต้องการความช่วยเหลือ พ่อแม่ก็จะเป็นคนแรกที่ลูกนึกถึง 

7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

ความร่วมมือที่ดีของผู้ปกครองกับครูหรือผู้ดูแลเด็กนั้น จะช่วยให้การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กให้หายไปได้อย่างง่ายดาย ครูมีประสบการณ์เพราะสอนเด็กมาหลายรุ่น อีกทั้งการปรับพฤติกรรมนั้นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าร่วมมือกัน ทำทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน พฤติกรรมนั้นก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว

8. การร่วมมือกับการจัดกิจกรรมของโรงเรียน

กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ ความร่วมมือของผู้ปกครองเป็นการสนับสนุนให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่และครูมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเรียนรู้ที่โรงเรียนและที่บ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ นอกจากนี้การที่ผู้ปกครองไปร่วมกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่นการเป็นวิทยากร อาสาสมัคร การให้ข้อมูลของลูก การร่วมประเมินความก้าวหน้าพัฒนาการของลูก การสื่อสารจากบ้านสู่โรงเรียนทำให้เกิดการสื่อสารสองทาง ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้ไม่ควรเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาเท่านั้น แต่ควรได้สื่อสารให้ครูได้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้าน พัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก ความรู้สึกของเด็กเกี่ยวกับครู โรงเรียน กิจกรรม และการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น แหล่งเรียนรู้ สื่อที่น่าสนใจ เป็นต้น

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

คำว่า “เครือข่าย” (Network) หมายความว่า การเข้ามามีบทบาทในฐานะการสร้างความร่วมมือ แนวร่วม และหรือ การมีส่วนร่วม เพื่อที่จะให้เกิดกลไกความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและสถานศึกษา 
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

1.      เพื่อการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและสถานศึกษา

2.      เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน

3.      ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครู และนักเรียนในสถานศึกษา

4.      เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นความรู้เป็นประสบการณ์ให้สามารถช่วยเหลือตนองได้ ดำรงไว้ซึ่ง   วัฒนธรรมประเพณี และละเว้นอบายมุขทั้งปวง กับเพื่อส่งเสริมความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

5.      เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

คุณสมบัติของกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

1.      ประกอบอาชีพสุจริต มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน

2.      บรรลุนิติภาวะ และมีสถานภาพเป็นผู้ปกครองนักเรียนในปัจจุบันในสถานศึกษาโดยชอบธรรมตามกฎหมาย

3.      ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ

การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

1.      ตาย

2.      ลาออก

3.      ขาดคุณสมบัติที่มีสถานภาพเป็นผู้ปกครองนักเรียนในปัจจุบันในสถานศึกษาโดยชอบธรรมตามกฎหมาย

วาระการดำรงตำแหน่ง
มีวาระ 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก สิ้นสุดลงในวันที่คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองชุดใหม่ได้รับการคัดเลือก 
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

1.      ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา

2.      ร่วมสร้างสายใยเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่าง ครูและผู้ปกครอง

3.      สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษา

4.      ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะต่อสถานศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนและสถานศึกษา

5.      จัดการประชุมคณะกรรมการและผู้ปกครองในห้องเรียนตามความเหมาะสม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

6.      จัดทำทำเนียบนักเรียนและผู้ปกครองโดยละเอียด และส่งมอบสำเนาให้เลขานุการกรรมการเครือข่าย    ผู้ปกครองในระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน

7.      กรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในระดับโรงเรียน จะต้องรวบรวมข้อมูลและกิจกรรมของแต่ละระดับ นำเสนอโรงเรียนเพื่อดำเนินการต่อไป

8.      ให้คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียนจัดการประชุมใหญ่ คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับ ตามความเหมาะสม อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

องค์ประกอบและการคัดเลือกของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
ระดับห้องเรียน คือผู้ปกครองที่อาสาสมัครหรือได้รับคัดเลือกในแต่ละห้องเรียน จำนวน 5 คน แล้วผู้ปกครองทั้ง 5 คนดังกล่าว มาคัดเลือกกันเองเพื่อดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย

1.      ประธาน

2.      รองประธาน

3.      เลขานุการ

4.      ปฏิคม

5.      ประชาสัมพันธ์

ระดับชั้นเรียน คือประธานและเลขานุการของแต่ละห้องเรียน จำนวนตามห้องเรียน ห้องละ 2 คนมาคัดเลือกกันเองเพื่อดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย

1.      ประธาน (คัดเลือกจากประธานระดับห้องเรียน)

2.      รองประธาน

3.      เลขานุการ (คัดเลือกจากเลขานุการระดับห้องเรียน)

4.      ปฏิคม

5.      ประชาสัมพันธ์

6.      กรรมการ

ระดับโรงเรียน คือประธานและเลขานุการของแต่ละระดับชั้น รวม 2 คน มี 9ระดับชั้น รวมเป็น 18  คนเป็นผู้แทนของเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน โดยผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานและรองประธานระดับโรงเรียน มาจากการคัดเลือกผู้เป็นประธานระดับชั้นเรียน ซึ่งมีอยู่ 6 คน ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ คัดเลือกตามความเหมาะสม ประกอบด้วย

1.      ประธาน

2.      รองประธาน คนที่ 1

3.      รองประธาน คนที่ 2

4.      เลขานุการ

5.      ผู้ช่วยเลขานุการ

6.      ประชาสัมพันธ์

7.      ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

8.      นายทะเบียน

9.      ปฏิคม

10.    กรรมการกลาง 4 คน

เมื่อประธานระดับชั้นใด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานระดับโรงเรียน ให้คณะกรรมการระดับชั้นนั้นคัดเลือกประธานระดับชั้นเรียนของตน(ที่เป็นประธานระดับห้องเรียน) ขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่าง เพื่อให้ครบจำนวน18 คน

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและชุมชน

  1. ให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา  ได้แก่ วันสำคัญ ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้าน โบราณวัตถุสถาน ประเพณีต่างๆ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ในลักษณะให้ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง, จัดนิทรรศการ, การศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น
  2. ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมต่าง ๆเช่น ในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ศิลปินด้านดนตรีไทย ช่างทำพรมเช็ดเท้า ช่างจักสาน เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้อย่างดียิ่ง จะดำเนินการได้โดยเชิญมาเป็นวิทยากร หรือให้ผู้เรียนไปศึกษาไปฝึกงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้
  3. เสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนางานของสถานศึกษา ได้แก่ การเชิญนักวิชาการ ครูอาจารย์จากสถานศึกษาอื่น ศิลปินพื้นบ้าน ผู้อาวุโส ผู้เป็นปูชนีย-บุคคลในหมู่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งนำมาใช้ในลักษณะของคำปรึกษาและข้อเสนอแนะ หรือเชิญให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นต้น
  4. ดูแล เอาใจใส่นักเรียน นักศึกษาในปกครองในด้านการเรียน และความประพฤติ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง

มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครู และนักเรียนในสถานศึกษา

  1. เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสถานศึกษาเพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  2. ร่วมพัฒนาปรับปรุงเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษาขอความร่วมมือในด้านทุนทรัพย์ วัสดุครุภัณฑ์จากชุมชน เช่น ขอบริจาคเงิน ทุนการศึกษา จาก ประชาชนในชุมชนเพื่อนำมาให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา เป็นต้น

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้39
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้62
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้147
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว467
mod_vvisit_counterเดือนนี้1742
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว4421
mod_vvisit_counterทั้งหมด556343