แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 14 กรกฏาคม 2020 เวลา 15:08 น. เขียนโดย Administrator วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2012 เวลา 01:00 น.
ประวัติที่ตั้งและข้อมูลของโรงเรียน
โรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ เดิมชื่อโรงเรียนประสาทศิลป์ เป็นโรงเรียนเอกชนคาทอลิกฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 6 ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนที่ดินของวัดนักบุญยวงบัปติสตา โดยมีประวัติความเป็นมา ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2475 คุณพ่อบรัวซาร์ พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศส ได้สร้างอาคารเรียน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว และได้ขออนุญาตจากกระทรวงธรรมการ เปิดทำการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนักบุญยวงบัปติสตา” โดยมีครูแซฟ ธิราศักดิ์ เป็นครูคนแรกสอนนักเรียนชายและซิสเตอร์คณะนักบวชหญิงคณะพระหฤทัยฯ สอนนักเรียนหญิง
ในปี พ.ศ. 2484 เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน รัฐบาลไทยมีนโยบายให้ปิดโรงเรียนของคริสต์ ดังนันโรงเรียนนักบุญยวงบัปติสตาจึงถูกปิดไปด้วยนักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนวัดเจ้าเจ็ดนอกระยะทางประมาณ 4-5 กิโลเมตร นักเรียนขาดเรียนมากเพราะการเดินทางเท้าและเรือไม่สะดวกนายอำเภอและธรรมการอำเภอเสนา ได้รับคำร้องเรียนจากผู้ปกครองนักเรียน จึงขอยืมอาคารเรียนของโรงเรียนนักบุญยวง บัปติสตา 2 หลัง ที่ถูกสั่งปิดแล้วเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาลชื่อ “โรงเรียนสิทธิวิทยาสถาน”
ในปี พ.ศ. 2495 คุณพ่อมีแชล ส้มจีน ศรีประยูร ได้ขออนุญาตต่อศึกษาธิการอำเภอและนายอำเภอ จัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ชื่อ “ประสาทศิลป์” โดยใช้อาคารเรียน 2 หลัง ที่ได้รับคืนมาและได้รับการอนุญาตให้เปิดสอนตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเริ่มเปิดภาคเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 150 คน ครู 5 ท่าน ดังนี้
1. ครูลม้าย กิจนิตย์ชีว์ เป็นผู้จัดการและเป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ
2. ครูบุญรอด อากรนิธิ เป็นครูใหญ่
3. ครูอุทัย สังขรัตน์ เป็นครูสอนวิชาศีลธรรมและหน้าที่พลเมือง
4. ครูชวน ธาราศิลป์ เป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์และหน้าที่พลเมือง
5. ครูประเทือง กิจนิตย์ชีว์ เป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ในปี พ.ศ. 2496 เปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในปี พ.ศ. 2497 ขออนุญาตใช้อาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา เป็นอาคารเรียนหลังที่ 3
ในปี พ.ศ. 2500 คุณพ่อมีแชลส้มจีน ศรีประยูรได้สร้างอาคารไม้ชั้นเดียวเพิ่มอีก 1 หลังและได้ขออนุญาตเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ในปี พ.ศ. 2501 ขออนุญาตเปิดสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6
ในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะโรงเรียนประสาทศิลป์ ให้เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
ในปี พ.ศ. 2522 คุณพ่อ ปอล ยือแบง ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารเรียนคอนกรีตเสริมไม้ 2 ชั้น ใช้เป็นอาคารเรียนเพียงแห่งเดียว
ในปี พ.ศ. 2526ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนระดับ ก่อนประถมศึกษารับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3–6 ปี
ในปี พ.ศ. 2528 สร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น
ในปี พ.ศ.2535 โรงเรียนได้รับรางวัล สถานศึกษาจัดจริยธรรมดีเด่น จากสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6
ในปี พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด จาก สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 1
ในปี พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้กำหนดนโยบายที่มุ่งพัฒนาการวางแผนเพื่อรองรับนโยบายปฏิรูปการศึกษา การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา โดยจัดทำธรรมนูญโรงเรียน แผนปฏิบัตงานประจำปี รายงานผลการดำเนินงานรายปี พัฒนาคู่มือครู คู่มือนักเรียน อบรม สัมมนาและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาบริเวณอาคารสถานที่ให้สวยงาม เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้กำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรและเน้นการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นแลได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดสารเสพติด จากสถานีตำรวจภูธร อำเภอเสนา
ในปี พ.ศ. 2542 โรงเรียนสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับประถมศึกษาระยะ3 ปี
ในปี พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้พัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่ได้รับการรับรอง มีการประสานสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2544 มีการวางแผนงานด้านหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เริ่มจากการพัฒนาครู โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้รับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการจัดทำและใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการพัฒนาบริเวณโรงเรียนด้านสถานที่เพื่อให้สอดคล้องและเป็นแหล่งการเรียนรู้โดยการสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมเป็นหลังที่ 5 มีจำนวน 9 ห้อง เพื่อใช้เป็นห้องกิจกรรมห้องปฏิบัติการและห้องเรียนนอกจากนั้นได้พัฒนาและปรับปรุง เครื่องแบบนักเรียนให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมชื่อ “ประสาทศิลป์” เป็น “เซนต์จอห์น บัปติสต์” โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นไป
ในปี พ.ศ. 2546 บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการนางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้อำนวยการ มีนักเรียน จำนวน 1,296 คน ครูจำนวน 71 คน ได้จัดให้มีการปรับสนามฟุตบอลให้สูงขึ้นกว่าเดิมและให้สูงแบบหลังเก่า ปลูกหญ้าญี่ปุ่น จัดสวนหย่อมข้างกำแพงด้านทิศเหนือ ถมดินติดเขื่อนชายคลอง ครูบรรจุ จำนวน 52 คน ครูทดลอง จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่ – พี่เลี้ยง จำนวน 10 คน นักการภารโรง จำนวน 3 คน
ในปี พ.ศ. 2547 บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้รับใบอนุญาต / ผู้จัดการ นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้อำนวยการ มีนักเรียนจำนวน 1,262 คน ครูจำนวน 63 คนได้มีการจัดซื้อห้องคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบ LAN จำนวน 48 เครื่อง และได้ปรับปรุงห้องสมุดโดยมีคอมพิวเตอร์ 11 เครื่อง ติดอินเตอร์เน็ท 1 เครื่อง ได้มีการปรับปรุงโรงอาหารเพื่อให้ถูกตามหลักโภชนาการ ครูบรรจุ จำนวน 41 คน ครูทดลองสอน 16 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน พี่เลี้ยง 2 คน นักการภารโรง 2 คน
ในปี พ.ศ. 2548 บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้รับใบอนุญาต นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้จัดการ/ ผู้อำนวยการ มีนักเรียนจำนวน 1,186 คน ครู 41 คนครูทดลองสอน 10 คน เจ้าหน้าที่ – พี่เลี้ยง 7 คน นักการภารโรง 2 คนโรงเรียนได้มีการปรับปรุงทาสีอาคารเรียนหลังที่ 1โรงอาหาร โต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร หอประชุม ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ระดับปฐมวัย และจัดซื้อโต๊ะรับประทานอาหาร แสตนเลสโรงเรียนได้รับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเหรียญทอง ระดับจังหวัด
ในปี พ.ศ. 2549 บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้รับใบอนุญาต นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้อำนวยการ มีนักเรียน จำนวน 1,125 คน ครู 33 คน ครูทดลองสอน 19 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน พี่เลี้ยง 2 คน นักการภารโรง 3 คน
ในปี พ.ศ. 2550 เปลี่ยนผู้รับใบอนุญาตจากเดิมบาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร เปลี่ยนเป็นบาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้รับใบอนุญาต นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้อำนวยการ มีนักเรียน จำนวน 1,085 คน ครู 35 คน ครูทดลองสอน 15 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน พี่เลี้ยง 3 คน นักการภารโรง 3 คน
ในปี พ.ศ.2551 บาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้รับใบอนุญาต นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ผู้อำนวยการ มีนักเรียน 990 คน ครู 35 คน ครูทดลองสอน 16 คนเจ้าหน้าที่ 4 คน พีเลี้ยง 3 คน คนงานนักการภารโรง 8 คน จัดทำสนามเด็กเล่นอนุบาลพร้อมซื้อเครื่องเล่นใหม่ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 เครื่อง
ในปี พ.ศ. 2552 บาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการจากเดิม คือ นางสาวกฤษฏี ชื่นชมน้อย เป็นนางสาวนงนภัส สุวรรณใจ มีครูจำนวน 52 ท่าน เจ้าหน้าที่ 5 คน พี่เลี้ยง 3 คน นักเรียน 947 คน ได้มีการปรับปรุงพื้นอนุบาล – ปูกระเบื้องจำนวน 12 ห้อง มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงาน – การเงิน ทะเบียนและวัดผล เป็นระบบ I – School ได้มีการจัดทำสนามเด็กเล่นระดับประถม จัดทำสวนเฉลิมพระเกียรติหน้าอาคารอนุบาล เรือนกล้วยไม้บริเวณหลังอาคาร 1 จัดทำตู้โชว์ โล่และถ้วยรางวัล หน้าห้องธุรการ – การเงิน จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รางวัลบริเวณทางเข้าโรงเรียน ได้มีการทาสีรั้ว กำแพง และประตูรอบบริเวณโรงเรียน มีการสร้างห้องน้ำเป็น 2 ห้อง สำหรับคุณครู นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้รับโต๊ะเรียนอนุบาล จากฝ่ายการศึกษาและได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 12 เครื่อง จากคุณนิวัฒน์ สังขรัตน์
ในปี พ.ศ. 2553 บาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ นางสาวนงนภัส สุวรรณใจ เป็นผู้อำนวยการ มีครูจำนวน 45 คน เจ้าหน้าที่ 7 คน พี่เลี้ยง 4 คน มีนักเรียนทั้งหมด 927 คน และมีนักการภารโรง 7 ท่านทางโรงเรียนได้ทำกันสาดกันแดดกันฝน บริเวณโรงอาหาร ได้มีการปรับหลังคาโรงอาหาร ทาสีห้องเรียน พื้น และอาคารเรียน อาคาร 1 นอกจากนี้ได้มีการซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีสากล
ในปี พ.ศ. 2554 บาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ นางสาวนงนภัส สุวรรณใจ เป็นผู้อำนวยการ มีจำนวนครูบรรจุ ๓๒ คน ครูทดลองสอน ๑๕ คนเจ้าหน้าที่-บุคลากรจำนวน ๑๑ คน ครูต่างชาติ ๑ คน และมีนักเรียนทั้งหมด ๘๙๘ คน และนักการภารโรง ๖ ท่าน ทางโรงเรียนได้สร้างห้องน้ำในห้องเรียนชั้นเตรียมอนุบาล ได้มีการปรับปรุงโรงเรียนหลังน้ำท่วม ได้มีการทาสีอาคารเรียน อาคารเรียนอนุบาล และรั้วรอบโรงเรียนทั้งหมด
ในปี พ.ศ. 2555 เปลี่ยนผู้รับใบอนุญาตจากเดิมบาทหลวงถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ เปลี่ยนเป็นบาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล และได้เปลี่ยนอธิการฝ่ายโภชนาการจาก อธิการอนงค์ วาปีกังเปลี่ยนเป็นอธิการสุรัชนี เล้าวงศ์ ซิสเตอร์นงนภัส สุวรรณใจ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ และผู้อำนวยการของโรงเรียน บุคลากรและครูมีจำนวนทั้งหมด 51 ท่าน มีนักเรียนจำนวน 930 คน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ ได้มีการปรับปรุงโรงอาหารใหม่ สร้างบ้านพักหลังใหม่ให้กับซิสเตอร์ บ้านพักคนงาน สร้างห้องสุขาใหม่จำนวน 5 ห้อง ได้สร้างหลังคาเอนกประสงค์หน้าอาคาร 2 ปรับปรุงอาคารเรียนอนุบาลใหม่ทั้งอาคาร เปลี่ยนสุขภัณฑ์ห้องสุขาใหม่และได้ติดแอร์ห้องเรียนเนอสเซอร์รี่ เปลี่ยนหลังคาโค้งลานเอนกประสงค์จากเดิมเป็นแสลมเปลี่ยนเป็นหลังคาเมนทอลชีส มีการปรับปรุงสนามฟุตบอลและภูมิทัศน์ภายรอบโรงเรียนใหม่ทั้งหมดและในปีนี้โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสามจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านปฐมวัย และประถมศึกษา-มัธยมศึกษา
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ปรับเปลี่ยนผู้อำนวยการจากเดิม คือ นางสาวนงนภัส สุวรรณใจ เป็น นางสาวอารี มั่นศิลป์ และได้ปรับเปลี่ยนฝ่ายโภชนาการจากเดิมคือนางสาวสุรัชนี เล้าวงศ์ เป็น นางสาวนิรมล ประสูตร์แสงจันทร์ มีจำนวนครูบรรจุทั้งหมด ๓๐ ท่าน ครูทดลองสอน ๑๔ ท่าน บุคลากรบรรจุ ๑ท่าน เจ้าหน้าที่ ๔ ท่าน พี่เลี้ยง ๕ ท่าน ครูต่างชาติ ๒ ท่าน นักการภารโรง 5 ท่าน และมีนักเรียนทั้งหมด ๙๐๔ คน โรงเรียนมีการพัฒนาดังนี้ การสร้างอาคารเรียนชั้นเตรียมอนุบาลบริเวณข้างห้องมัธยมศึกษาปีที่ 3 และสร้างสะพานข้ามคลองบริเวณหน้าวัดนักบุญยวงบัปติสตาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนและผู้ปกครองในการสัญจรอีกทั้งยังสร้างห้องน้ำบริเวณข้างลานเอนกประสงค์รวมถึงการปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่จำนวน ๒๕ เครื่อง ทีวี ๑ เครื่องและตกแต่งห้องคอมใหม่ทั้งหมด
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาวอารี มั่นศิลป์ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์นบัปติสต์ และ นางสาวนิรมล ประสูตร์แสงจันทร์ ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๘๕๐ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๐ ท่าน ครูทดลองสอน ๑๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๔ ท่าน พี่เลี้ยง ๖ ท่านครูต่างชาติ ๒ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ดังนี้ ได้มีการทาสีอาคารเรียนอนุบาล ปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำชายหญิง และกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงอาหารใหม่
ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาวอารี มั่นศิลป์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ และ นางสาวนิรมล ประสูตร์แสงจันทร์ ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๘๐๗ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๗ ท่าน ครูทดลองสอน ๔ ท่าน บุคลากร ๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๒ ท่าน พี่เลี้ยง ๕ ท่าน ครูต่างชาติ ๒ ท่าน รวม ๕๒ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๐ เครื่อง ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแผนกปฐมวัย และมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในห้องสมุด สร้างโรงเพาะชำต้นไม้ ปรับปรุงสวนหย่อมให้ร่มรื่นและสวยงามเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน กำลังดำเนินการก่อสร้างโรงอาหารเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับเด็กนักเรียนในอนาคตต่อไป
ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาวอารี มั่นศิลป์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ และ นางสาวธาราทิพย์ พะโกล ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๖๙๙ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๗ ท่าน ครูทดลองสอน ๓ ท่าน บุคลากร ๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๒ ท่าน พี่เลี้ยง ๒ ท่าน ครูต่างชาติ ๒ ท่าน รวม ๔๘ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ ปรับปรุง ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบอินเตอร์เน็ตห้องสมุด ให้มีความเสถียรมากขึ้น ติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ในห้องสมุด จำนวน 3 เครื่อง ได้รับโน๊ตบุ๊ค จำนวน 3 เครื่อง โทรทัศน์จำนวน 3 เครื่อง และฮาร์ดดิสภายนอก จำนวน 3 อัน จากโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์และอุปกรณ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) โดยได้ทำการติดตั้งตามห้องเรียนดังนี้ ห้องเรียนคุณภาพ ห้องแนะแนว ห้องประชุม และห้องคอมพิวเตอร์ จัดทำป้าย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ปรัชญา คำขวัญ และรางวัลต่างๆบริเวณหน้าโรงเรียน ปรับปรุงสนามหญ้าและจัดสวนหย่อมให้ความร่มรื่นและสวยงาม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ดำเนินการซ่อมแซมอาคารเรียนอนุบาล และในปีการศึกษานี้ได้เปิดใช้โรงอาหารซึ่งได้ดำเนินการสร้างเสร็จสิ้นพร้อมใช้งานแล้ว
ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ บาทหลวงสุรนันท์ กวยมงคล ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาวอารี มั่นศิลป์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ และ นางสาวธาราทิพย์ พะโกล ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๖๖๗ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๕ ท่าน ครูทดลองสอน ๒ ท่าน บุคลากร ๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๒ ท่าน พี่เลี้ยง ๒ ท่าน ครูต่างชาติ ๒ ท่าน รวม ๔๕ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๕ เครื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของนักเรียนในด้านการเรียนการศึกษา และการค้นหาความรู้ต่างๆ
ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาวอารี มั่นศิลป์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ และ นางสาวธาราทิพย์ พะโกล ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๖๖๐ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๖ ท่าน ครู ๒ ท่าน บุคลากร ๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๒ ท่าน พี่เลี้ยง ๑ ท่าน ครูต่างชาติ ๒ ท่าน รวม ๔๖ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน ๔๕ เครื่อง ติดตั้งและวางระบบเซิฟเวอร์ (Server) พร้อมติดตั้ง Wifi ให้ครอบคลุมทั้งโรงเรียน เพื่อรองรับการใช้ระบบบริหารผลการดำเนินงานการศึกษา EPS (Education Performance System) ผู้ปกครองสามารถติดตามผลการเรียนได้ด้วยตนเอง ตลอดเวลา ตลอดปีการศึกษา ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ ห้องสมุดจำนวน 10 เครื่อง ห้องวิทยาศาสตร์จำนวน 5 เครื่อง ห้องจิตตาภิบาลจำนวน 5 เครื่อง ติดตั้ง โทรทัศน์ ห้องสมุดจำนวน 1 เครื่อง
ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ บาทหลวงปรีชา รุจิพงศ์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสาววิชชุดา วิจิตรวงศ์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนเซนต์จอห์น บัปติสต์ และ นางสาวพรทิพย์ กันทู ซิสเตอร์ฝ่ายโภชนาการ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๖๓๐ คน จำนวนครูบรรจุ ๓๖ ท่าน ครู ๒ ท่าน บุคลากร ๒ ท่าน เจ้าหน้าที่ ๒ ท่าน พี่เลี้ยง ๑ ท่าน ครูต่างชาติ ๔ ท่าน รวม ๔๗ ท่าน โรงเรียนได้มีการพัฒนาดังนี้ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการค้นคว้าในห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑๐ เครื่อง ติดตั้ง โทรทัศน์ จำนวน ๙ เครื่อง โน๊ตบุ๊คจำนวน ๙ เครื่อง ในห้องทับ ๑ ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ทาสีเครื่องเล่นอนุบาลทั้งหมด จัดซื้อโต๊ะม้าหิน จำนวน ๘ ชุด จัดสวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน และจัดสวนการเรียนรู้ภายในโรงเรียน ทั้ง 8 กลุ่มสาระ
บทบาทหน้าที่ของบุคลากร ผู้เรียน ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงานชุมชนและท้องถิ่นของสถานศึกษา
บทบาทและหน้าที่ของนักเรียน
(Student code of conduet)
1. บทบาทและหน้าที่ตนเอง
1.1 ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ
1.2 ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสและเบิกบาน
1.3 หลีกเลี่ยงอบายมุข และสิ่งเสพติดทุกชนิด
1.4 พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีสัมมาคารวะ
1.5 ขยัน อดทน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
1.6 เล่นกีฬาที่ตนเองถนัด อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
2. บทบาทและหน้าที่ต่อพ่อแม่และครอบครัว
2.1 เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำอบรมของพ่อแม่
2.2 ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านตามสมควร
2.3 เป็นลูกกตัญญู กตเวทีต่อพ่อแม่และบุพการี
3. บทบาทหน้าที่ต่อครู อาจารย์ และโรงเรียน
3.1 ให้ความเคารพและเชื่อฟังครู/ อาจารย์ทุกท่าน
3.2 ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
3.3 รักและภาคภูมิใจ ในสถาบันการศึกษาของตน
3.4 ให้ความร่วมมือ กับครู/อาจารย์ และโรงเรียน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ โรงเรียน
3.5 มีความรัก สามัคคีต่อเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
4. บทบาทและหน้าที่ต่อท้องถิ่นของตนเอง
4.1 มีความรัก และภาคภูมิใจต่อท้องถิ่นของตนเอง
4.2 สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหาย
4.3 ช่วยเหลือ และพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า
4.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
4.5 รักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ อากาศ สวนสาธารณะต่าง ๆ
4.6 ใช้สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม และประหยัด
4.7 ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
5. บทบาทและหน้าที่ต่อประเทศชาติ
5.1 ภูมิใจในความเป็นไทย พร้อมสืบสาน ศิลป วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของไทย
5.2 รักและห่วงแหนความเป็นเอกราชของชาติไทย
5.3 ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองในระบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข
5.4 เป็นเยาวชนที่ดีของชาติ
6. บทบาทและหน้าที่ต่อศาสนา
6.1 เลื่อมใส ศรัทธา ในศาสนาที่ตนเองนับถือ
6.2 ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา
6.3 ช่วยเผยแพร่ศาสนา
6.4 เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา
6.5 ไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่ศาสนา
7. บทบาทหน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์
7.1 ให้ความเคารพ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
7.2 นำเอาพระราชดำรัส ของพระองค์มาปฏิบัติ
บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
ผู้ปกครอง คือ ครูคนแรกๆ ของเด็กและเด็กๆก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่บ้านโดยไม่ต้องได้รับอิทธิพลหรือได้รับการสอนอย่างเป็นทางการจากสถานศึกษาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ เมื่อเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาหรือโรงเรียนอนุบาลแล้ว การเรียนรู้จะต้องเชื่อมต่อและเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นต่อเนื่องและทำให้การเรียนรู้มีความหมายต่อเด็ก เพราะสามารถเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงที่บ้านได้ด้วย บทบาทของผู้ปกครอง ได้แก่
1. เข้าใจพัฒนาการและความแตกต่างรายบุคคลของลูก
เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะรู้และเข้าใจ สามารถส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมเพราะการเจริญเติบโตในช่วงใดช่วงหนึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการชะงักงัน อีกทั้งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีสไตล์ (style) ที่อาจแตกต่างกัน ผู้ปกครองต้องเข้าใจ บางครั้งอาจต้องมีความอดทนกับสไตล์ของลูก ต้องไม่นำลูกของตนไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน แต่ต้องเข้าใจ รู้ใจลูกและส่งเสริมพัฒนาการของลูกในวิถีทางที่ลูกชอบ
2. ให้ความรัก/ความอบอุ่น :เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่
เด็กทุกคนต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากเด็กมีกลไกด้านประสาทวิทยาและชีววิทยา มีโปรแกรมในสมองสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ และสื่อสารความรู้สึกความต้องการภายในได้ของตนได้ ความอบอุ่นที่เด็กได้รับจากครอบครัวจะเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ลูกกล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ อีกทั้งความอบอุ่นนี้เป็นการสร้างสายใยของความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกให้เกิดความไว้วางใจ กล้าเล่าสิ่งต่างๆที่กังวล ที่เป็นปัญหา ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้ความจริง สามารถให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า
3. การอบรมสั่งสอน: การอบรมเลี้ยงดูกับบุคลิกภาพของลูก
พฤติกรรมการเลียนแบบทางกาย วาจานั้นปรากฏชัดเจนมาก ทั้งการแต่งกาย ท่าทาง กิริยามารยาทของพ่อแม่ย่อมถ่ายทอดไปสู่ลูก การใช้ภาษาพูดและภาษาท่าทางนั้น เด็กสามารถเลียนแบบพ่อแม่ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน หล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพของลูก ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมการสั่งสอนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่บ้าน การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็กและครอบครัวทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและบ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัยให้กับเด็กอีกด้วย เรียกได้ว่า วินัยเริ่มที่บ้านและเป็นวินัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นช่วยเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น เก็บของเล่นเป็นที่ รับประทานอาหารเป็นที่เป็นต้น
4. การอบรมเลี้ยงดูกับจริยธรรมของเด็ก
การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็ก การใช้เหตุผลที่ไม่สูงเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนักจะมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก การเลี้ยงดูโดยการใช้เหตุผลจะทำให้เด็กเป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์เลี้ยงและผู้อื่น
5. การเสริมแรง จูงใจ และให้รางวัล สร้างความมั่นใจให้ลูก
เราพูดกันอยู่เสมอว่า คำชมนั้นไม่ต้องซื้อหา หากแต่คำชมต้องเป็นรูปธรรม บอกกล่าวว่าลูกทำอะไรดีจึงได้รับคำชม การชมนี้เป็นการแนะแนวทางให้แก่ลูกว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและต้องทำอีกถ้าหากว่าลูกต้องการคำชม และเมื่อทำบ่อยๆพฤติกรรมนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคลิกของเด็ก สำหรับรางวัลนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป ในระยะแรกอาจใช้สิ่งของเพื่อช่วยให้เด็กเห็นชัดเจน แต่ต้อมาผู้ปกครองต้องค่อยๆลดสิ่งของลง คงเหลือไว้เพียงคำพูด ยิ้ม พยักหน้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกยึดติดกับสิ่งของหรือกลายเป็นว่าจะทำดีต่อเมื่อมีสิ่งของ หากแต่การทำดีนั้นเพราะเป็นสิ่งที่ดี
6. การใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ
เวลาที่มีคุณภาพนั้น อาจจะหลอมรวมอยู่ในกิจวัตรประจำวัน ไม่จำเป็นต้องจัดขึ้นใหม่ หากแต่ผู้ปกครองให้ลูกมีส่วนร่วม อย่ารำคาญหรือคิดว่าเมื่อลูกร่วมกิจกรรมด้วยแล้วทำให้เกิดความล่าช้า เสียเวลา ขอให้ใช้การเสียเวลานั้นอย่างมีคุณค่า เพราะการทำ"งาน"ร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับลูก การสนทนา การพูดคุยกับลูกนั้น ยังช่วยให้รับรู้ถึงความคิดความอ่านของลูก สิ่งที่ลูกกลัวที่เป็นปัญหาของลูก หลายๆครั้งเรามีความรู้สึกว่าลูกพูดอะไรก็ไม่รู้ เพ้อเจ้อ แต่นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่ลูกจินตนาการขึ้น ซึ่งก็เป็นพัฒนาการตามวัย ความสัมพันธ์หรือสายใยนี้ จะยังคงอยู่ต่อไปและกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะเมื่อลูกเห็นว่าพ่อแม่คือคนที่พูดคุยด้วยได้ เมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ได้ เมื่อเด็กโตขึ้น ปัญหาก็ยิ่งสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ในยามที่ลูกต้องการความช่วยเหลือ พ่อแม่ก็จะเป็นคนแรกที่ลูกนึกถึง
7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ความร่วมมือที่ดีของผู้ปกครองกับครูหรือผู้ดูแลเด็กนั้น จะช่วยให้การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กให้หายไปได้อย่างง่ายดาย ครูมีประสบการณ์เพราะสอนเด็กมาหลายรุ่น อีกทั้งการปรับพฤติกรรมนั้นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าร่วมมือกัน ทำทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน พฤติกรรมนั้นก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว
8. การร่วมมือกับการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ ความร่วมมือของผู้ปกครองเป็นการสนับสนุนให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่และครูมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเรียนรู้ที่โรงเรียนและที่บ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ นอกจากนี้การที่ผู้ปกครองไปร่วมกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่นการเป็นวิทยากร อาสาสมัคร การให้ข้อมูลของลูก การร่วมประเมินความก้าวหน้าพัฒนาการของลูก การสื่อสารจากบ้านสู่โรงเรียนทำให้เกิดการสื่อสารสองทาง ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้ไม่ควรเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาเท่านั้น แต่ควรได้สื่อสารให้ครูได้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้าน พัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก ความรู้สึกของเด็กเกี่ยวกับครู โรงเรียน กิจกรรม และการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น แหล่งเรียนรู้ สื่อที่น่าสนใจ เป็นต้น
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
คำว่า “เครือข่าย” (Network) หมายความว่า การเข้ามามีบทบาทในฐานะการสร้างความร่วมมือ แนวร่วม และหรือ การมีส่วนร่วม เพื่อที่จะให้เกิดกลไกความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. เพื่อการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและสถานศึกษา
2. เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน
3. ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครู และนักเรียนในสถานศึกษา
4. เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นความรู้เป็นประสบการณ์ให้สามารถช่วยเหลือตนองได้ ดำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมประเพณี และละเว้นอบายมุขทั้งปวง กับเพื่อส่งเสริมความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
5. เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. ประกอบอาชีพสุจริต มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน
2. บรรลุนิติภาวะ และมีสถานภาพเป็นผู้ปกครองนักเรียนในปัจจุบันในสถานศึกษาโดยชอบธรรมตามกฎหมาย
3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ
การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. ตาย
2. ลาออก
3. ขาดคุณสมบัติที่มีสถานภาพเป็นผู้ปกครองนักเรียนในปัจจุบันในสถานศึกษาโดยชอบธรรมตามกฎหมาย
วาระการดำรงตำแหน่ง
มีวาระ 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก สิ้นสุดลงในวันที่คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองชุดใหม่ได้รับการคัดเลือก
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา
2. ร่วมสร้างสายใยเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่าง ครูและผู้ปกครอง
3. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษา
4. ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะต่อสถานศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนและสถานศึกษา
5. จัดการประชุมคณะกรรมการและผู้ปกครองในห้องเรียนตามความเหมาะสม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
6. จัดทำทำเนียบนักเรียนและผู้ปกครองโดยละเอียด และส่งมอบสำเนาให้เลขานุการกรรมการเครือข่าย ผู้ปกครองในระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน
7. กรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในระดับโรงเรียน จะต้องรวบรวมข้อมูลและกิจกรรมของแต่ละระดับ นำเสนอโรงเรียนเพื่อดำเนินการต่อไป
8. ให้คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียนจัดการประชุมใหญ่ คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับ ตามความเหมาะสม อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
องค์ประกอบและการคัดเลือกของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
ระดับห้องเรียน คือผู้ปกครองที่อาสาสมัครหรือได้รับคัดเลือกในแต่ละห้องเรียน จำนวน 5 คน แล้วผู้ปกครองทั้ง 5 คนดังกล่าว มาคัดเลือกกันเองเพื่อดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย
1. ประธาน
2. รองประธาน
3. เลขานุการ
4. ปฏิคม
5. ประชาสัมพันธ์
ระดับชั้นเรียน คือประธานและเลขานุการของแต่ละห้องเรียน จำนวนตามห้องเรียน ห้องละ 2 คนมาคัดเลือกกันเองเพื่อดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย
1. ประธาน (คัดเลือกจากประธานระดับห้องเรียน)
2. รองประธาน
3. เลขานุการ (คัดเลือกจากเลขานุการระดับห้องเรียน)
4. ปฏิคม
5. ประชาสัมพันธ์
6. กรรมการ
ระดับโรงเรียน คือประธานและเลขานุการของแต่ละระดับชั้น รวม 2 คน มี 9ระดับชั้น รวมเป็น 18 คนเป็นผู้แทนของเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน โดยผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานและรองประธานระดับโรงเรียน มาจากการคัดเลือกผู้เป็นประธานระดับชั้นเรียน ซึ่งมีอยู่ 6 คน ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ คัดเลือกตามความเหมาะสม ประกอบด้วย
1. ประธาน
2. รองประธาน คนที่ 1
3. รองประธาน คนที่ 2
4. เลขานุการ
5. ผู้ช่วยเลขานุการ
6. ประชาสัมพันธ์
7. ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
8. นายทะเบียน
9. ปฏิคม
10. กรรมการกลาง 4 คน
เมื่อประธานระดับชั้นใด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานระดับโรงเรียน ให้คณะกรรมการระดับชั้นนั้นคัดเลือกประธานระดับชั้นเรียนของตน(ที่เป็นประธานระดับห้องเรียน) ขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่าง เพื่อให้ครบจำนวน18 คน
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและชุมชน
มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครู และนักเรียนในสถานศึกษา